วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กติกาการเลนวอลเลย์บอล



1 พื้นที่เล่นลูก (Playing Area)
พื้นที่เล่นลูก รวมถึงสนามแข่งขันและเขตรอบสนาม พื้นที่เลนลูกต้องเป็นรูปสามเหลี่ยมผืนผ้าและเหมือนกันทุกส่วน 1.1 ขนาดของสนาม (Dimension) สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 x 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3 เมตร ทุกด้านที่ว่างสำหรับเล่นลูก คือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูก ซึ่งไม่มี สิ่งใดกีดขวาง สูงขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 7 เมตร จากพื้นสนาม สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5 เมตร จากเส้นข้าง 8 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร1.2 พื้นผิวสนาม (PLAYING SURFACE)1.2.1 พื้นผิวสนามต้องเรียบ เป็นพื้นราบและเหมือนกันตลอดทั้งสนาม ต้องไม่เป็นอันตรายจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บ และไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาต ิและการแข่งขันอย่างเป็นทางการอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นผิวสนามที่เป็นไม้หรือพื้นผิวสังเคราะห์เท่านั้น พื้นผิวสนามอื่นใด ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลก่อนทั้งสิ้น1.2.2 สนามแข่งขันในร่ม พื้นผิวสนามต้องเป็นสีสว่างสำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นสนามต้องเป็นสีขาว ส่วนพื้นสนามแข่งขันและบริเวณเขตรอบสนามต้องเป็นสีแตกต่างกันออกไป1.2.3 สนามแข่งขันกลางแจ้ง อนุญาตให้พื้นผิวสนามลาดเอียงได้ 1 มิลลิเมตร ต่อ 1 เมตร เพื่อการระบายน้ำ ห้ามใช้ของแข็งทำเส้นสนาม1.3 เส้นบนพื้นสนาม (LINES ON THE COURT)1.3.1 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีสว่างแตกต่างจากสีของพื้นผิวสนามและเส้นอื่น ๆ 1.3.2 เส้นเขตสนาม เส้นข้าง 2 เส้น และเส้นหลัง 2 เส้น เป็นเส้นกำหนดเขตสนามแข่งขัน เส้นทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายในเขตของสนามแข่งขัน1.3.3 เส้นแบ่งแดน กึ่งกลางเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ขนาด 9 x 9 เมตร เส้นนี้ลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปยังเส้นข้างอีกดานหนึ่งใต้ตาข่าย1.3.4 เส้นรุก แต่ละแดนของสนามจะมีเส้นรุกซึ่งริมสุดด้านนอกของเส้นจะขีดห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน 3 เมตร เป็นเครื่องหมายของเขตรุก สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นรุกจะถูกขีดต่อออกไปจากเส้นข้างทั้ง 2 เส้น เป็นเส้นประ กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร 5 เส้น และเว้นช่องว่างระหว่างเส้นไว้ช่องละ 20 เซนติเมตร รวมยาวข้างละ 1.75 เมตร 1.4 เขตและพื้นที่ต่าง ๆ (Zone And Areas)1.4.1 เขตรุก เขตรุกของแต่ละแดนจะถูกกำหนดจากึ่งกลางของเส้นแบ่งเขตแดน ไปจนถึงริมสุดด้านนอกของเส้นรุกเขตรุก ถือเสมือนว่ามีความยาวจากเส้นทั้งสองไปจนถึงริมสุดของเขตรอบสนาม1.4.2 เขตเสิร์ฟ เขตเสิร์ฟมีพื้นที่กว้าง 9 เมตร อยู่เลยเส้นหลังแต่ละเส้นออกไปเส้นขนานสั้น ๆ 2 เส้น ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร เป็นเส้นกำหนดเขตเสิร์ฟ เส้นทั้งสองนี้จะตีห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร เหมือนกับแนวต่อจากเส้นข้าง และรวมอยู่ในความกว้างของเขตเสิร์ฟด้วยในแนวลึก เขตเสิร์ฟจะยาวออกไปจนถึงปลายสุดของเขตรอบสนาม1.4.3 เขตเปลี่ยนตัว คือ เขตที่อยู่ภายในแนวของเส้นรุกทั้งสองเส้นไปจนถึงโต๊ะผู้บันทึกการแข่งขัน1.4.4 พื้นที่อบอุ่นร่างกาย สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ พื้นที่อบอุ่นร่างกายขนาด 3 x 3 เมตร จะอยู่ที่นอกเขตรอบสนามตรงมุมสนามด้านเดียวกับม้านั่งของผู้เล่นสำรอง1.4.5 พื้นที่ทำโทษ พื้นที่ทำโทษขนาดประมาณ 1 x 1 เมตร มีเก้าอี้ตั้งไว้ 2 ตัวอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (CONTROL AREA) แต่อยู่เลยแนวของเส้นหลังและมีเส้นแดงกว้าง 5 เซนติเมตร กำหนดพื้นที่ 1.5 อุณหภูมิ (TEMPERATURE)อุณหภูมิต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แสงสว่างบนพื้นที่เล่นลูกต้องมีความสว่าง 1,000 – 1,500 ลักซ์ โดยวัดที่ระดับความสูงจากพื้นสนาม 1 เมตร
แผนผังสนามแข่งขัน ตำแหน่งของคณะกรรมการตัดสินและเจ้าหน้าที่
๑. ผู้ตัดสินที่ ๑๒. ผู้ตัดสินที่ ๒๓. โต๊ะผู้บันทึก ผู้จับเวลา ผู้กดป้ายคะแนน๔. โต๊ะที่นั่งสำหรับผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ฯลฯ๕. ผู้กำกับเส้น๖. ผู้เก็บบอล๗. เขตอบอุ่นร่างกายของผู้เล่นสำรอ

กติกาข้อที่ 2 ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย (NET AND POSTS)
2.1 ความสูงของตาข่าย (HEIGHT OF THE NET)2.1.1 ตาข่าย ขึงเป็นแนวตั้งเหนือเส้นเบ่งแดน สำหรับทีมชาย ขอบบนสุดต้องสูงจากพื้นที่ 2.43 เมตร ทีมหญิง 2.24 เมตร2.1.2 ความสูงของตาข่าย วัดที่กึ่งกลางของสนามความสูงของตาข่าย (เหนือเส้นทั้งสอง) ต้องสูงเท่ากัน แต่จะสูงเกินกว่าความสูงที่กำหนด 2 เซนติเมตรไม่ได้2.2 โครงสร้าง (STRUCTURE)ตาข่ายมีความกว้าง 1 เมตร และยาว 9.50 ถึง 10.00 เมตร (โดยมีความยาวเหลืออยู่ 25 ถึง 50 เซนติเมตร จากแถบข้างแต่ละด้าน) ทำด้วยวัสดุสีดำ เป็นตาสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 10 เซนติเมตร ที่ขอบบนของตาข่ายมีแถบขนานกับพื้นพับ 2 ชั้น สีขาว กว้าง 7 เซนติเมตร เย็บติดตลอดความยาวของตาข่าย ที่ปลายสุดแต่ละข้างเจาะรูไว้ข้างละ 1 รู เพื่อร้อยเชือกผูกกับเสาขึง ตาข่ายดึงให้แถบบนสุดของตาข่ายตึง ภายในแถบมีสายที่ยืดหยุ่นได้สำหรับผูกกับเสา เพื่อทำให้ส่วนบนสุดของตาข่ายตึง ที่ตาข่ายด้านล่างมีแถบขนานกับพื้นกว้าง 5 เซนติเมตร ภายในแถบมีสายที่หยืดหยุ่นได้สำหรับผูกกับเสาเพื่อให้ส่วนล่างของตาข่ายตึง2.3 แถบข้าง (SIDE BANDS)แถบสีขาว 2 เส้น ผูกในแนวตั้งกับตาข่ายเหนือทั้ง 2 เส้น แถบข้างกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย2.4 เสาอากาศ (ANTENNAE)เสาอากาศเป็นแท่งกลมยืดหยุ่นได้ ยาว 1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทำด้วยใยแก้วหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันเสาอากาศแต่ละต้นถูกยึดติดอยู่ที่ริมด้านนอกของแถบข้างทั้งสอง แต่อยู่คนละด้านของตาข่าย ส่วนบนสุดของเสาอากาศ ถือเป็นสีสลับกันเป็นช่วง ๆ ยาวช่องละ 10 เซนติเมตร ส่วนมากแล้วนิยมใช้สีแดงและขาว เสาอากาศถือเป็นส่วนหนึ่ง ของตาข่าย เป็นแนวขนานที่กำหนดพื้นที่ข้ามตาข่าย2.5 เสาขึงตาข่าย (POSTS)2.5.1 เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 0.50 – 1.00 เมตร มีความสูง 2.55 เมตร สามารถปรับระดับได้ สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร เว้นแต่ว่า ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ2.5.2 เสาขึงตาข่ายมีลักษณะกลมและเรียบ ยึดติดกับพื้นโดยไม่มีสายยึดเสาและต้องไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายและไม่เป็นสิ่งกีดขวางใด ๆ 2.6 อุปกรณ์อื่น ๆ (ADDITIONAL EQUIPMENT)อุปกรณ์อื่นใดให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตามระเบียบของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
กติกาข้อที่ 3 ลูกบอล (BALLS)
3.1 มาตรฐาน (STANDARD)ลูกบอลต้องกลม ทำด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูกบอลทรงกลมที่ทำด้วยยาง หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีของลูกบอลอาจเป็นสีอ่อน ๆ เหมือนกันทั้งลูก หรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ ลูกบอลซึ่งทำด้วยวัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลายสีผสมกันและจะใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ต้องมีมาตรฐานตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติกำหนด ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30 – 0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงกลม 65 – 67 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 260 – 280 กรัม3.2 รูปแบบของลูกบอล (UNIFORMITY OF BALLS)ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบวง น้ำหนัก แรงอัด ชนิดและสีตามาตรฐานเดียวกัน การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและรวมทั้งระดับชาติ หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้อง ใช้ลูกบอลที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองเท่านั้น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ3.3 ระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก (THREE – BALL SYSTEM)การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้กลิ้งบอล 6 คน ประจำที่มุมของเขตรอบสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และข้างหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
บทที่ 2ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน(PARTICIPANTS)กติกาข้อที่ 4 ทีม (TEAMS)
4.1 ส่วนประกอบของทีม (TEAM COMPOSITION)4.1.1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1คน และแพทย์ 1 คนสำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ต้องขึ้นทะเบียนกับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อนการแข่งขัน4.1.2 ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมที่ไม่ใช่ตัวรับอิสระ (LIBERO PLAYER) ต้องเป็นหัวหน้าทีมและจะระบุไว้ในใบบันทึกการแข่งขัน4.1.3 ผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในใบบันบันทึกการแข่งขันเท่านั้นจึงจะลงสนามและร่วมการแข่งขันได้ เมื่อผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันแล้วจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นอีกไม่ได้4.2 ตำแหน่งที่อยู่ของทีม (LOCATION OF THE TEAM) 4.2.1 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันควรนั่งม้านั่งหรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเอง ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่นต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งเป็นครั้งคราว ม้านั่งของทีมตั้งอยู่ข้าง ๆ โต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม4.2.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นั่งม้านั่งระหว่างการแข่งขันและร่วมการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน4.2.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันสามารถอบอุ่นร่างกายโดยไม่ใช่ลุกบอลได้ดังนี้4.2.3.1 ระหว่างการแข่งขันในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย4.2.3.2 ระหว่างขอเวลานอกและเวลาเทคนิคในเขตรอบสนามด้านหลังแดนของทีมตนเอง4.2.4 ช่วงพักระหว่างเชต ผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกายโดยใช้ลูกบอลได้ในเขตรอบสนามของทีมตนเอง4.3 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT) เครื่องแต่งกายของผู้เล่นประกอยด้วย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า (ชุดแข่งขัน) และรองเท้า4.3.1 สีและแบบของเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และถุงเท้าต้อง เหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ LIBERO PLAYER) และสะอาด 4.3.2 รองเท้าต้องเบาและอ่อนนุ่ม พื้นเป็นยางหรือหนังไม่มีส้น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและ การแข่งขันอย่างเป็นทางการในรุ่นที่ไม่กำจัดอายุสีรองเท้าต้องเป็นสีเดียวกันทั้งทีม แต่เครื่องหมายการค้าอาจมีสีแตกต่างกันได้ เสื้อและกางเกงต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ4.3.3 เสื้อผู้เล่นต้องมีเครื่องหมาย 1 – 18 4.3.3.1 ต้องติดเครื่องที่กลางอกและกลางหลังสีของเครื่องหมายเลขต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน4.3.3.2 หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อยที่สุด 15 เซนติเมตร ด้านหลังอย่างน้อยที่สุด 20 เซนติเมตร และความกว้างของแถบที่ทำหมายเลข ต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 1 เซนติเมตร4.3.4 หัวหน้าทีมต้องมีแถบยาว 8 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขตรงอกเสื้อ4.3.5 ห้ามใส่ชุดแข่งขันที่มีหมายเลขไม่ถูกต้อง หรือชุที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นอื่น4.4 การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (CHANGE OF EQUIPMENT)ผู้ตัดสินคนที่ 1 มีอำนาจที่จะให้ผู้เล่น 1 คน หรือมากกว่า4.4.1 ลงแข่งขันโดยไม่สวมรองเท้าก็ได้4.4.2 เปลี่ยนชุดที่เปียกช่วงพักระหว่างเชต หรือหลังจากการเปลี่ยนตัวได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนับชุดเดิม4.4.3 สวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้ ถ้าอากาศหนาว ถ้าสีและแบบของชุควอร์มเหมือนกันทั้งทีม และหมายเลขต้องเป็นไปตามปกติ4.5 สิ่งที่ห้ามสวมใส่ (FORBIDDEN OBJECTS)4.5.1 ห้ามสวมใส่สิ่งของซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือช่วยให้ผู้เล่นได้เปรียบผู้อื่น4.5.2 ผู้เล่นอาจสวมแว่นตาหรือคอนเทคเลนซ์ได้ โดยรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง
กติกาข้อที่ 5 ผู้นำของทีม (TEAM LEADER)
ทั้งหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอนเป็นผผู้รับผิดชอบความประพฤติและระเบียบวินัยของผู้ร่วมทีมตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีมไม่ได้5.1 หัวหน้าทีม (CAPTAIN)5.1.1 ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าทีมเป็นผู้ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันและเป็นผู้แทนของทีมในการเสี่ยง5.1.2 ระหว่างการแข่งขันและขณะอยู่ในสนามแข่งขันหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ผู้นำในการแข่งขัน เมื่อหัวหน้าทีมไม่ได้เล่นอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมต้องแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งที่อยู่ในสนาม แต่ต้องไม่ไช่ตัวรับอิสระ ทำหน้าที่หัวหน้าทีมในการแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และต้องรับผิดชอบไปจนกว่าหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) จะเปลี่ยนตัวมาลงเล่นอีกหรือจนกว่าจะสิ้นสุดเซตนั้นเมื่อลูกตาย หัวหน้าทีมในการแข่งขันเท่านั้นที่มีสิทธิเป็นผู้แทนของผู้เล่นทั้งหมดพูดกับผู้ตัดสิน เพื่อ5.1.2.1 ขอคำอธิบายในการตีความกติกาหรือนำกติกามาใช้และร้องขอหรือถามคำถามของเพื่อนร่วมทีม ถ้าคำอธิบายไม่เป็นที่พอใจ หัวหน้าในการแข่งขันต้องประท้องการตัดสินนั้นและสงวนสิทธิบันทึกการประท้องอย่างเป็นทางการ ในใบบันทึกการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันจบสิ้นลง5.1.2.2 ขอสิทธิก. เปลี่ยนชุดหรืออุปกรณ์การแข่งขันบางส่วนหรือทั้งหมด ข. ตรวจตำแหน่งผู้เล่นของทีม ค. ตรวจพื้นสนาม ตาข่าย และลูกบอล5.1.2.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น5.1.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันหัวหน้าทีมต้อง5.1.3.1 แสดงความขอบคุณผู้ตัดสินและลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันการประท้องอย่างเป็นทางการต่อผู้ตัดสิน เกี่ยวกับการนำกติกาใช้หรือตีความกติกาลงในใบบันทึกการแข่งขัน5.2 ผู้ฝึกสอน (COACH)5.2.1 ตลอดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนเป็นผู้ควบคุมการเล่นของทีมภายในสนามแข่งขัน เป็นผู้เลือกผู้เล่น 6 คนแรก เปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอเวลานอก ผู้ฝึกสอนทำหน้าที่ดังกล่าวได้โดยขอผ่านทางผู้ตัดสินที่ 25.2.2 ก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้องบันทึกหรือตรวจสอบรายชื่อและหมายเลขของผู้เล่นในใบบันทึกการแข่งขัน 5.2.3 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้อง5.2.3.1 ยืนใบส่งตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงชื่อแล้ว ให้ผู้ตัดสินหรือผู้บันทึกก่อนการแข่งขันทุกเซต5.2.3.2 นั่งม้านั่งของทีมซึ่งใกล้กับผู้บันทึกมากที่สุดแต่อาจลูกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว5.2.3.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น5.2.3.4 ผู้ฝึกสอนรวมทั้งผู้ร่วมทีมอื่น ๆ อาจให้คำแนะนำผู้เล่นในสนามได้ โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำผู้เล่นในสนามได้โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำขณะที่ยืนหรือเดินภายในเขตเล่นลูก (FREE ZONE) ด้านหน้าของม้านั่งผู้เล่นสำรองตั้งแต่แนวที่ยื่นออกมาของเส้นรุกจนถึงพื้นที่อบอุ่นร่างกายแต่ต้องไม่รบกวนหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน5.3 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (ASSISTANT COACH)5.3.1 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนั่งบนม้านั่งของทีม แต่ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะหยุดการแข่งขัน5.3.2 ถ้าผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอาจทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนแทนได้ โดยการขออนุญาตของหัวหน้าทีมในขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินที่ 1
บทที่ 3 รูปแบบของการแข่งขัน(PLAYING FORMAT)กติกาข้อที่ 6 การได้คะแนน การชนะในแต่ละเชต และการชนะแต่ละนัด (TO SCORE A POINT,TOWIN A SET AND THE MATCH)
6.1 การได้คะแนน (TO SCORE A POINT)6.1.1 คะแนน ทีมได้คะแนนเมื่อ6.1.1.1 ทำให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามในแดนของทีมตรงข้าม6.1.1.2 ทีมตรงข้ามทำผิดกติกา6.1.1.3 ทีมตรงข้ามถูกลงโทษ6.1.2 การทำผิดกติกา ทีมทำผิดกติกาเมื่อลักษณะของการเล่นตรงข้ามกับกติกาการแข่งขัน(หรือขัดแย้งกับกติกาโดยวิธีอื่นใด) ผู้ตัดสินจะตัดสินการการกระทำผิดและตัดสินใจดำเนินการตามกติกา ดังนี้6.1.2.1 ถ้ามีการเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน จะลงโทษเฉพาะการผิดกติกาที่เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น6.1.2.2 ถ้าทั้งสองทีมเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าพร้อม ๆ กันทั้งสองทีม จะถือว่าเป็นการกระทำผิดทั้งคู่ และจะเล่นลูกนั้นใหม่6.1.3 ผลที่ตามมาเมื่อชนะการเล่นลูก การเล่นลูกเป็นลักษณะการเล่นที่เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ จนกระทั้งลูกตาย 6.1.3.1 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟต่อ6.1.3.2 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟในครั้งต่อไป6.2 การชนะในแต่ละเซต (TO WIN A SET)ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อน (ยกเว้นเซตตัดสิน) และมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุก 2 คะแนน จะเป็นทีมชนะการแข่งขันเซตนั้น ถ้าทำได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน6.3 การชนะการแข่งขันแต่ละนัด (TO WIN THE MATCH)6.3.1 ทีมที่ทำได้ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น6.3.2 ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2 : 2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน 15 คะแนน และต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อย 2 คะแนน6.4 ทีมที่ผิดระเบียบการแข่งขันและไม่พร้อมจะแข่งขัน (DEFAULT AND INCOMPLETE TEAM) 6.4.1 ถ้าทีมปฏิเสธที่จะแข่งขัน หลังจากได้รับแจ้งให้แข่งขันต่อ ทีมนั้นจะถูกแจ้งว่าทำผิดระเบียบการแข่งขัน และปรับเป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น ด้วยผลการแข่งขัน 0 – 3 เซต คะแนน 0 – 25 ในแต่ละเซต6.4.2 ทีมที่ไม่ปรากฏตัว ณ สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าผิดระเบียบการแข่งขันและมีผลการแข่งขันเช่นเดียวกับกติกาข้อ 6.4.16.4.3 ทีมที่ถูกแจ้งว่าไม่พร้อมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่งหรือการแข่งขันเซตใดเซตหนึ่ง จะแพ้ในเซตนั้นหรือการแข่งขันนัดนั้น ทีมตรงข้ามจะได้คะแนนและเซตเพื่อเป็นทีมชนะในเซตหรือการแข่งขันนัดนั้น ส่วนทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขันจะยังคงได้คะแนนและเชตที่ทำไว้
กติกาข้อที่ 7 โครงสร้างของการแข่งขัน (STRUCTURE OF PLAY)
7.1 การเสี่ยง (TOSS)ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่าทีมใดจะทำการเสิร์ฟก่อนหรืออยู่แดนใด ในเซตที่ 1ถ้าต้องการแข่งขันเซตตัดสินจะต้องทำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง7.1.1 การเสี่ยงต้องทำโดยมีหัวหน้าทีมทั้งสองทีมร่วมอยู่ด้วย7.1.2 ผู้ชนะการเสี่ยงจะสิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้7.1.2.1 เลือกเสิร์ฟหรือรับลูกเสิร์ฟ 7.1.2.2 เลือกแดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ7.1.3 ในกรณีที่ทำการอบอุ่นร่างกายมาพร้อมกัน ทีมที่ทำกาเสิร์ฟก่อนจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน7.2 การอบอุ่นร่างกาย (WARM-UP SESSION)7.2.1 ก่อนการแข่งขัน ถ้าทีมมีสนามอบอุ่นร่างกายที่จัดไว้ให้แล้ว แต่ละทีมจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายได้ทีมละ 5 นาที7.2.2 ถ้าหัวหน้าทีมทั้งสองตกลงทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันจะอบอุ่นร่างกายได้ 6 นาที หรือ 10 นาที 7.3 ตำแหน่งการเริ่มต้นของทีม (TEAM STARTING LINE-UP)7.3.1 ทีมต้อมีผู้เล่น 6 คนเสมอ ในการแข่งขันตำแหน่งเริ่มต้นของทีม แสดงถึงลำดับการหมุนตำแหน่งของผู้เล่นในสนามลำดับนี้ตะคงอยู่ตลอดเวลานั้น7.3.2 ก่อนการเริ่มแข่งขันแต่ละเซตผู้ฝึกสอนต้องแจ้งตำแหน่งเริ่มต้นเล่นทีมของตนเองในใบส่งตำแหน่ง ซึ่งเขียนหมายเลขของผู้เล่นและลงชื่อกำกับแล้ว ส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขัน7.3.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นเล่นของทีม จะเป็นผู้เล่นสำรองในเซตนั้น7.3.4 เมื่อใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นเล่น ถูกนำส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขันแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใบส่งตำแหน่งอีก นอกจากต้องการทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตามปกติ7.3.5 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดระหว่างใบส่งตำแหน่งกับตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม 7.3.5.1 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดก่อนเริ่มการแข่งขันของเซต ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้เป็นไปตามใบส่งตำแหน่งโดยไม่มีการลงโทษ7.3.5.2 อย่างไรก็ตามถ้าผู้ฝึกสอนต้องการให้ผู้เล่นเปลี่ยนที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบส่งตำแหน่ง ยังคงอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนต้องของเปลี่ยนตัวตามปกติและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน7.4 ตำแหน่ง (POSITIONS)ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล แต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของตนเองตามลำดับการหมุมตำแหน่ง7.4.1 ตำแหน่งของผู้เล่นจำแนกได้ดังนี้7.4.1.1 ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน ที่อยู่ใกล้ตาข่ายเป็นผู้เล่นแถวหน้าอยู่ในตำแหน่งที่ 4 ตำแหน่งที่ 3 และตำแหน่งที่ 2 7.4.1.2 ส่วนอีก 3 คน เป็นผู้เล่นแถวหลังอยู่ในตำแหน่งที่ 5 ตำแหน่งที่ 6 ตำแหน่งที่ 1 ตำแหน่งของผู้เล่นจะถือตำแหน่งของเท้าที่แตะพื้น เป็นเครื่องหมายกำหนด
ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้เล่น
หมายเลข ๑ ตำแหน่ง หลังขวา มีหน้าที่เสิร์ฟและรับลูกบอลป้อนไปยังแดนหน้า หมายเลข ๒ ตำแหน่ง หน้าขวา มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย หมายเลข ๓ ตำแหน่ง หน้ากลาง มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย หมายเลข ๔ ตำแหน่ง หน้าซ้าย มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย หมายเลข ๕ ตำแหน่ง หลังซ้าย มีหน้าที่รับและป้อนลูกบอลไปยังแดนหน้า หมายเลข ๖ ตำแหน่ง กลางหลัง มีหน้าที่รับและป้อนลูกบอลไปยังแดนหน้า
7.4.2 ความเกี่ยวข้องของตำแหน่งระหว่างผู้เล่น7.4.2.1 ผู้เล่นแถวหลังแต่ละคนต้องมีตำแหน่งอยู่ด้านหลังทั้งคู่ของตนเองที่เป็นผู้เล่นแถวหน้า 7.4.2.2 ผู้เล่นแถวหน้าและแถวหลังแต่ละคู่ต้องอยู่ในตำแหน่งข้างเดียวกันตามลำดับการหมุนตำแหน่งที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 7.4.17.4.3 ตำแหน่งของผู้เล่นจะพิจารณาและควบคุมจากตำแหน่งของเท้าที่สัมผัสพื้น ดังนี้7.4.3.1 ผู้เล่นแถวหน้าแต่ละคนต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของรองเท้าอยู่ใกล้เส้นแบ่งแดนมากกว่าเท้าของผู้เล่นแดนตน7.4.3.2 ผู้เล่นที่อยู่ทางขวา (หรือทางซ้าย) ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าใกล้กับเส้นทางขวา (หรือซ้าย) มากกว่าผู้เล่นที่อยู่ตำแหน่งกลางของแถวเดียวกัน7.4.4 เมื่อทำการเสิร์ฟลูกบอลออกไปแล้ว ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ไปอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ในแดนและเขตรอบสนามตน7.5 การผิดตำแหน่ง (POSITIONAL FAULT)7.5.1 ทีมจะผิดตำแหน่ง ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล 7.5.2 ถ้าผู้เสิร์ฟเสิร์ฟผิดกติกาขณะที่ทำการเสิร์ฟ จะถือว่าการเสิร์ฟผิดปกติเกิดขึ้นก่อนการผิดตำแหน่งของทีมตรงข้าม7.5.3 ถ้าการเสิร์ฟผิดกติกาหลังจากทำการเสิร์ฟออกไปแล้ว จะถือว่าการผิดตำแหน่งเกิดขึ้นก่อน7.5.4 การทำผิดตำแหน่งจะมีผลตามมาดังนี้7.5.4.1 เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น7.5.4.2 เปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง7.6 การหมุนตำแหน่ง (ROTATION)7.6.1 ลำดับการหมุนตำแหน่งจะเป็นไปตามใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นของทีมและควบคุมด้วยลำดับการเสิร์ฟและตำแหน่งของผู้เล่นตลอดทั้งเซต 7.6.2 เมื่อทีมที่รับลูกเสิร์ฟได้สิทธ์ในการทำเสิร์ฟ ผู้เล่นต้องหมุนต้องหมุนไปตามเข็มนาฬิกาไป 1 ตำแหน่ง
ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๒ หมุนไปตำแหน่งที่ ๑ เพื่อทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๑ หมุนไปตำแหน่งที่ ๖ ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๖ หมุนไปตำแหน่งที่ ๕ ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๕ หมุนไปตำแหน่งที่ ๔ ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๔ หมุนไปตำแหน่งที่ ๓ ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๓ หมุนไปตำแหน่งที่ ๒
การหมุนตำแหน่งผู้เล่น
๑. การหมุนตำแหน่งจะกระทำเมื่อมีการเปลี่ยนเสิร์ฟโดยหมุนไป ๑ ตำแหน่ง๒. การหมุนตำแหน่งต้องหมุนไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ๓. ลำดับการหมุนตำแหน่งที่บันทึกไว้ในบันทึกในแต่ละเซ็ทจะต้องคงที่ตลอดไป ทั้งเซ็ทนั้น ๔. ลำดับการหมุนตำแหน่งในเซ็ทใหม่แต่ละเซ็ท อาจจะเปลี่ยนเป็นผู้เล่นคนอื่นก็ได้ที่มี ชื่ออยู่ในบันทึก
7.7 การหมุนตำแหน่งผิด (ROTATIONAL FAULT)7.7.1 การหมุนตำแหน่งผิดเกิดขึ้นเมื่อ การเสิร์ฟไม่เป็นไปตามตำแหน่งการหมุนตำแหน่ง และมีผลตามมาดังนี้7.7.1.1 เป็นฝ่ายแพ้ในเล่นลูกครั้งนั้น7.7.1.2 ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง7.7.2 นอกจากนั้น ผู้บันทึกต้องตัดสินใจหยุดการแข่งขันทันทีที่มีการผิดตำแหน่ง และยกเลิกคะแนนที่ได้ทำทั้งหมดขณะที่ผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของที่ทำได้ทั้งหมดขณะผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามให้คงไว้คงเดิมถ้าคะแนนขณะผิดตำแหน่งไม่สามารถตรวจพบได้ให้ลงทาเพียงเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้นเท่านั้น
กติกาข้อที่ 8 การเปลี่ยนตัว (SUBSTITUTION OF PLAYERS)
การเปลี่ยนตัว คือ การที่ผู้เล่นคนหนึ่งออกจากสนาม และผู้เล่นอีกคนหนึ่งข้าไปแทนในตำแหน่งนั้น หลังจากผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัว (ยกเว้นตัวบันทึกอิสระ) การเปลี่ยนตัวต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน8.1 ข้อจำกัดขอกการเปลี่ยนตัว (LIMIYION OF SUBSTITUTION)8.1.1 ทีมหนี่งจะเปลี่ยนตัวได้มากที่สุด 6 คนต่อเซต การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยนเพียง 1 คน หรือมากกว่าก็ได้8.1.2 ผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นจะเปลี่ยนตัวออกได้หนึ่งครั้งและกลับมาเข้าไปเล่นได้อีกหนึ่งครั้ง ในตำแหน่งเดิม ตามใบส่งตำแหน่ง8.1.3 ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนเข้าแทนผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้ที่จะเปลี่ยนตัวเข้ามาแทนผู้เล่นสำรองต้องเป็นผู้เล่นคนเดิมเท่านั้น8.2 การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น (EXCEPTIONAL SUBSTITUTION)ผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บ (ยกเว้นผู้รับอิสระ) จนแข่งขันต่อไปไม่ได้ จะเปลี่ยนตัวตามกติกา ถ้าเปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ ทีมนั้นจะได้รับการยกเว้นให้เปลี่ยนได้ นอกเหนือจากกติกาที่กำหนดไว้ใน การเปลี่ยนตัวที่ได้รับยกเว้นจะไม่นับรวม กับการเปลี่ยนตัวตามปกติ ไม่ว่ากรณีใด8.3 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ถูกทำโทษออกจากการแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน (SUBSTITUTION FOR EXPULSION OR DISQUALIFICATION)ผู้เล่นที่ถูกทำโทษให้ออกจากการแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน ต้องทำการเปลี่ยนตัวตามกติกา ถ้าทำการเปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ จะถือว่าทีมนั้นเป็นทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขัน8.4 การเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกา (ILLEGAL SUBSTITUTION)8.4.1 การเปลี่ยนตัวจะผิดกติกา ถ้านอกเหนือจากข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 8.1 8.4.2 เมื่อทีมทำการเปลี่ยนตัวผิดกติกา และการแข่งขันได้เล่นต่อไปแล้วจะต้องดำเนินการดังนี้ (กติกาข้อ 9.1)8.4.2.1 ทีมถูกลงโทษให้เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น 8.4.2.2 แก้ไขการเปลี่ยนตัวให้ถูกต้อง8.4.2.3 คะแนนที่ทำได้ตั้งแต่ทำผิดกติกาของทีมนั้นจะถูกตัดออก ส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามยังคงไว้ตามเดิม
บทที่ 4ลักษณะการแข่งขัน(PLAYING ACTION)กติกาข้อที่ 9 รูปแบบต่างๆของการเล่น (STATES OF PLAY)
9.1 ลูกบอลที่อยู่ในการเล่น (BALL IN PLAY)ลูกบอลจะอยู่ในการเล่นตั้งแต่ขณะที่ทำการเสิร์ฟ โดยผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้อนุญาต (กติกาข้อ 13.3)9.2 ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น หรือลูกตาย (BALL OUT OF PLAY)ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น ตั้งแต่ขณะที่มีการทำผิดกติกาซึ่งผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีด การทำผิดกติกาสิ้นสุดลงพร้อมๆกับสัญญาณนกหวีด9.3 ลูกบอลอยู่ในสนาม (BALL IN)ลูกบอลอยู่ในสนาม เมื่อลูกบอลถูกพื้นสนามแข่งขันรวมทั้งเส้นเขตสนาม (กติกาข้อ 1.1, 1.3.2) 9.4 ลูกบอลออกนอกสนาม (BALL OUT)ลูกบอลออกนอกสนามเมื่อ9.4.1 บางส่วนของลูกบอลตกลงบนพื้น นอกเส้นเขตสนามอย่างสมบูรณ์ 9.4.2 ลูกบอลถูกสิ่งของที่อยู่ภายนอกสนาม เพดาน หรือผู้ที่ไม่ได้แข่งขันด้วย9.4.3 ลูกบอลถูกเสาอากาศ เชือก เสา หรือตาข่ายที่อยู่นอกแถบข้าง (กติกาข้อ 2.3)9.4.4 ลูกบอลข้ามตาข่าย นอกเขตแนวตั้งที่กำหนดให้ลูกบอลผ่านอย่างสมบูรณ์หรือเพียงบางส่วน (ยกเว้นกรณีกติกาข้อ 11.1.2, 11.1.1)9.4.5 ลูกบอลลอดใต้ตาข่ายไปยังแดนของทีมตรงข้ามอย่างสมบูรณ์
กติกาข้อที่ 10 การเล่นลูกบอล (PLAYING THE BALL)
แต่ละทีมต้องเล่นลูกบอลภายในพื้นที่เล่นลูกและที่ว่างของทีมตนเอง (ยกเว้นกติกาข้อ 11.1.2) อย่างไรก็ตามผู้เล่นสามารถนำบอลที่ออกไปนอกเขตรอบสนามกลับมาเล่นต่อได้10.1 การถูกลูกบอลของทีม (TEAM HITS)ทีมถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง (นอกจากทำการสกัดกั้นตามกติกาข้อ 15.4.1) เพื่อส่งลูกบอลกลับไปยังทีมตรงข้าม ถ้าถูกลูกบอลมากกว่านี้ ถือว่าทีมทำผิดกติกา “ถูกลูก 4 ครั้ง” การถูกลูกบอลของทีม นับรวมทั้งที่ผู้เล่นตั้งใจถูกหรือไม่ตั้งใจถูกก็ตาม10.1.1 การถูกลูกบอลอย่างต่อเนื่อง (CONSECUTIVE CONTACTS) ผู้เล่นจะถูกลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกันไม่ได้ (ยกเว้นกติกาข้อ 10.2.3, 15.2, 15.4.2)10.1.2 การถูกลูกบอลพร้อมกัน (SIMULTENEOUS CONTACTS) ผู้เล่น 2 คนหรือ 3 คนอาจถูกลูกบอลพร้อมๆกันได้ในเวลาเดียวกัน10.1.2.1 เมื่อผู้เล่นทีมเดียวกัน 2 คน (3 คน) ถูกบอลพร้อมๆกัน จะถือว่าเป็นการถูกบอล 2 ครั้ง (3 ครั้ง) ยกเว้นเมื่อทำการสกัดกั้น ถ้าผู้เล่นหลายคนถึงลูกบอลพร้อมกัน แต่มีผู้เล่นถูกลูกบอลเพียงคนเดียว จะถือว่าถูกลูกบอล 1 ครั้ง ถึงแม้ว่าผู้เล่นชนกันก็ไม่ถือว่าผิดกติกา10.1.2.2 เมื่อทั้งสองทีมถูกลูกบอลพร้อมๆกันเหนือตาข่าย และยังเล่นลูกบอลนั้นต่อไปได้ ทีมรับที่รับลูกนั้นสามารถถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง ถ้าลูกบอลออกนอกสนาม จะถือว่าทีมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับลูกบอลเป็นฝ่ายทำลูกบอลออกนอกสนาม10.1.2.3 ถ้าการถูกลูกบอลพร้อม ๆ กันทั้งสองทีมเป็นการจับลูก (CATCH) จะถือว่าผิดกติกาทั้งสองทีม และต้องเล่นลูกนั้นใหม่ 10.1.3 การเล่นลุกบอลโดยมีกาช่วยเหลือ (ASSISTED HIT) ภายในบริเวณพื้นที่เล่น ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอาศัยเพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งใด ๆ ช่วยให้ไปถึงลูกบอลได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่กำลังจะทำผิดกติกา(โดยกำลังจะถูกตาข่ายหรือเส้นขั้นเขตแดน) อาจถูกฉุดหรือดึงโดยเพื่อนร่วมทีมได้10.2 การถูกลูกบอลในลักษณะต่าง ๆ (CHARACTERISTICS OF THE HIT)10.2.1 ลูกบอลอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้10.2.2 การถูกลูกบอลต้องเป็นการกระทบ ไม่ใช่จับหรือโยน ลูกบอลจะสะท้อนกลับในทิศทางใดก็ได้10.2.3 ลูกบอลอาจถูกหลายส่วนของร่างกายได้ ถ้าการถูกนั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน10.2.3.1 ในการสกกัดกั้น ลูกบอลอาจถูกผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่าติดต่อกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกบอลเพียงครั้งเดียว10.2.3.2 การถูกลูกบอลครั้งแรกของทีม ลูกบอลอาจถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อเนื่องกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกครั้งเดียว10.3 การทำผิดกติกาในการเล่นลูกบอล (FAULT IN PLATING THR BALL)10.3.1 การถูกลูกบอล 4 ครั้ง ทีมถูกลูกบอล 4 ครั้งก่อนส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้าม10.3.2 การถูกลูกบอลโดยมีการช่วยเหลือ ผู้เล่นอาศัยเพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งของใด ๆ ช่วยให้เข้าถึงลูกบอลภายในบริเวณพื้นที่เล่นลูก10.3.3 การจับลูกบอล ผู้เล่นไม่ได้กระทบลูกแต่จับและ / หรือโยนลูกบอล10.3.4 การถูกลูกบอลติดต่อกัน 2 ครั้ง ผู้เล่นถูกลูกบอล 2 ครั้ง หรือถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการเล่นลูก 1ครั้ง
กติกาข้อที่ 11 ลูกบอลที่บริเวณตาข่าย (BALL AT THE NET)
11.1 การข้ามตาข่ายของลูกบอล (BALL CROSSING THE NET)11.1.1 ลูกบอลที่ส่งไปยังทีมตรงข้าม ต้องข้ามเหนือตาข่ายภายในพื้นที่สำหรับข้ามตาข่าย พื้นที่สำหรับข้ามตาข่ายคือ พื้นที่ในแนวตั้งของตาข่ายที่ถูกกำหนดด้วยสิ่งต่อไปนี้11.1.1.1 ส่วนต่ำสุด โดยขอบบนของตาข่าย11.1.1.2 ด้านข้าง โดยมีเสาอากาศและแนวสมมุติที่สูงขึ้นไป11.1.1.3 ส่วนบนสุด โดยเพดาน11.1.2 ลูกบอลที่ข้ามแนวตาข่ายไปยังเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามโดยทุกส่วนของลูกบอล หรือเพียงบางส่วนของลูกบอลอยู่นอกแนวข้ามตาข่าย ลูกบอลอาจกลับมาเล่นต่อได้โดยเล่นลูกไม่เกิน 3 ครั้ง ถ้า11.1.2.1 ผู้เล่นไม่ถูกแดนของทีมตรงข้าม11.1.2.2 ลูกบอลที่เล่นกันมา ข้ามนอกเขตข้ามตาข่ายลูกบอล ทางด้านเดียวกันของสนามทั้งลูกหรือเพียงบางส่วนของลูก ทีมตรงข้ามจะกีดขวางการเล่นลูกนี้ไม่ได้11.2 การถูกตาข่ายของลูกบอล (BALL TOUCHING THE NET)ลูกบอลอาจถูกตาข่ายได้ขณะที่กำลังข้ามตาข่าย11.3 ลูกบอลที่ชนตาข่าย (BALL IN THE NET)11.3.1 ลูกบอลที่พุ่งชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3 ครั้ง ตามกำหนดการเล่นลูก11.3.2 ถ้าลูกบอลทำให้ลูกบอลทำให้ตาข่ายฉีกขาด หรือทำให้ตาข่ายหลุดให้ยกเลิกการเล่นลูกครั้งนั้นและนำมาเล่นกันใหม่
กติกาข้อที่ 12 ผู้เล่นบริเวณตาข่าย (PLAYER AT THE NET)
12.1 การล้ำเหนือตาข่าย (REACHING BEYOND THE NET)12.1.1 ในการสกัดกั้น ผู้สกัดกั้นอาจล้ำตาข่ายเข้าไปถูกลูกบอลได้ถ้าไม่กีดขวางการเล่นลูกของทีมตรงกันข้าม คือไม่ถูกลูกก่อนหรือไม่ถูกลูกขณะที่ทีมตรงกันข้ามทำการรุก12.1.2 ภายหลังการตบลูกบอล มือของผู้เล่นอาจล้ำตาข่ายได้ ถ้าขณะถูกลูกเป็นการถูกลูกบอลในแดนของทีมของตนเอง12.2 การล้ำใต้ตาข่าย (PENETRATION UNDER THE NET)12.2.1 อนุญาตให้ล้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามใต้ตาข่ายได้ ถ้าไม่ขัดขวางการเล่นของทีมตรงข้าม12.2.2 การล้ำเส้นแบ่งแดนเข้าไปในแดขของทีมตรงข้าม12.2.2.1 อนุญาตให้เท้าหรือมือข้างเดียว (2 ข้าง) ถูกแดนของทีมตรงข้ามได้ ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าหรือมือยังคงแตะ หรืออยู่เหนือเส้นแบ่งแดน12.2.2.2 ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายจะถูกแดนของทีมตรงข้ามไม่ได้12.2.3 ผู้เล่นอาจเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามได้หลังจากลูกตายแล้ว12.2.4 ผู้เล่นอาจล้ำเข้าไปในเขตรอบสนามของทีมตรงกันข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของทีมตรงกันข้าม12.3 การถูกตาข่าย (CONTACT WITH THE NET)12.3.1 การถูกตาข่ายหรือเสาอากาศไม่ผิดกติกา เว้นแต่เมื่ออยู่ในลักษณะเล่นลูกหรือกีดขวางการเล่น การเล่นลูกบางลักษณะอาจรวมถึงลักษณะที่ผู้เล่นไม่ได้ถูกลูกบอลในขณะนั้นด้วย12.3.2 เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกบอลไปแล้ว ผู้เล่นอาจถูกเสาเชือก หรือสิ่งใด ๆ ที่อยู่นอกระยะความยาวของตาข่ายได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่น12.3.3 ถ้าลูกบอลที่พุ่งชนตาข่ายทำให้ตาข่ายไปถูกผู้เล่นทีมตรงข้ามไม่ถือว่าผิดกติกา12.4 การผิดกติกาของผู้เล่นที่ตาข่าย (PLAYERS’ FAULTS AT THE NET)12.4.1 ผู้เล่นถูกลูกบอลหรือถูกผู้เล่นทีมตรงข้าม ในแดนของทีมตรงกันข้าม หรือระหว่างที่ทีมตรงกันข้ามทำการรุก12.4.2 ผู้เล่นล้ำเข้าไปในที่ว่างใต้ตาข่ายของทีมตรงข้ามและกีดขวางการเล่นของทีมตรงข้าม12.4.3 ผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้าม12.4.4 ผู้เล่นถูกตาข่าย หรือเสาอากาศขณะอยู่ในลักษณะของการเล่นลูก หรือกีดขวางการเล่น
กติกาข้อที่ 13 การเสิร์ฟ (SERVICE)
การเสิร์ฟ เป็นการนำลูกเข้าสู่การเล่น โดยผู้เล่นตำแหน่งหลังขวาที่ยืนอยู่ในเขตเสิร์ฟ13.1 การเสิร์ฟครั้งแรกในแต่ละเซต (FIRST SERVICE IN A SET)13.1.1 ทีมใดจะได้เสิร์ฟลูกแรกในเซตที่ 1 และเซตตัดสิน (เซต 5) มีผลมาจากการตัดสินใจของทีมเมื่อทำการเสี่ยง13.1.2 ในเซตอื่น ๆทีมที่ไม่ได้เสิร์ฟลูกแรกในเซตที่ผ่านมาจะเป็นทีมที่ทำการเสิร์ฟลูกแรก13.2 ลำดับการเสิร์ฟ (SERVICE ORDER)13.2.1 ลำดับการเสิร์ฟของผู้เล่นต้องเป็นไปตามที่บันทึกไว้ในใบส่งตำแหน่ง13.2.2 หลังจากากรเสิร์ฟครั้งแรกในแต่ละเซตผู้เล่นที่เสิร์ฟครั้งต่อไปจะเป็นดังนี้13.2.2.1 เมื่อฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกนั้น ผู้ที่ทำการเสิร์ฟอยู่แล้ว (หรือผู้เล่นสำรองเปลี่ยนตัวเข้ามาแทน) จะทำการเสิร์ฟต่อไปอีก13.2.2.2 เมื่อฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะในการเล่นลูกนั้นจะได้สิทธ์ทำการเสิร์ฟและต้องหมุนตำแหน่งก่อนทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นที่หมุนจากตำแหน่งหน้าขวาไปยังหลังขวาจะเป็นผู้เสิร์ฟ13.3 การอนุญาตให้เสิร์ฟ (AUTHORIZATION OF THE SERVICE)ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้อนุญาตให้เสิร์ฟ หลังจากการตรวจดูว่าทั้งสองทีมพร้อมแข่งขัน และผู้เสิร์ฟถือลูกบอลไว้แล้ว13.4 การปฏิบัติในการเสิร์ฟ (EXECUTION OF THE SERVICE)13.4.1 หลังจากผู้เสิร์ฟโยนหรือปล่อยลูกบอลออกจากมือแล้วจะเสิร์ฟด้วยมือหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแขนเพียงข้างเดียว13.4.2 อนุญาตให้ทำการโยนลูกบอลเพื่อทำการเสิร์ฟเพียงครั้งเดียว แต่อนุญาตให้เดาะหรือเคลื่อนไหวลูกบอลในมือได้13.4.3 ขณะทำการเสิร์ฟหรือกระโดดเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องไมถูกพื้นที่เขตสนาม (รวมทั้งเส้นหลังด้วย) หรือพื้นที่นอกเขตเสิร์ฟหลังจากทำการเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟจึงสามารถเหยียบหรือถูกพื้นนอกเขตเสิร์ฟและพื้นในเขตสนามได้13.4.4 ผู้เสิร์ฟต้องทำการเสิร์ฟลูกภายใน 8 นาที หลังจาก ผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ13.4.5 การเสิร์ฟก่อนสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสิน ต้องยกเลิกและให้ทำการเสิร์ฟใหม่13.5 การกำบัง (SCREENING)13.5.1 ผู้เล่นของทีมที่กำลังจะทำการเสิร์ฟ คนเดียวหรือหลายคนก็ตามไม่บังทีมตรงข้ามเพื่อมิให้มองเห็นผู้เสิร์ฟเคลื่อนไหวแขน กระโดด หรือเคลื่อนที่ไปข้าง ๆ ขณะที่กำลังทำการเสิร์ฟ เพื่อบังทิศทางที่ลูกบอลพุ่งไป จะถือว่าเป็นการกำบัง13.6 การกระทำผิดระหว่างทำการเสิร์ฟ (FAULTS MADE DURING THE SEERVIC)13.6.1 การเสิร์ฟที่ผิดกติกา การผิดกติกาต่อไปนี้จะต้องเปลี่ยนเสิร์ฟ ถึงแม้ว่าทีมตรงข้ามจะผิดตำแหน่ง13.6.1.1 ทำการเสิร์ฟผิดลำดับการเสิร์ฟ13.6.1.1 ทำการเสิร์ฟไม่ถูกต้อง13.6.2 การผิดกติกาหลังจากการเสิร์ฟลูกบอลออกไปอย่างถูกต้องแล้ว การเสิร์ฟนั้นอาจผิดกติกาได้13.62.1 ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นของทีมที่ทำการเสิร์ฟหรือไม่ผ่านพื้นที่ว่างเหนือตาข่ายอย่างสมบูรณ์13.6.2.2 ลูก “ออก” กติกาข้อ 9.4 13.6.2.3 ลูกบอลผ่านเหนือการกำบัง13.7 การผิดกติกาหลังจากการเสิร์ฟและการผิดตำแหน่ง(FAULTS MADE AFTER THE SERVICE AND POSITIONAL FAULT)13.7.1 ถ้าผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟผิดกติกา (ทำการเสิร์ฟไม่ถูกต้อง หรือ ผิดลำดับการเสิร์ฟเป็นต้น) และทีมตรงข้ามผิดตำแหน่งการเสิร์ฟผิดกติกาจะถูกทำโทษ13.7.1 ถ้าการเสิร์ฟกระทำอย่างถูกต้อง แต่ผิดพลาดในเวลาต่อมา (ลูกออก หรือ ผ่านการกำบังเป็นต้น) จะถือว่าการผิดตำแหน่งเกิดขึ้นก่อน และจะทำโทษการผิดตำแหน่ง
กติกาข้อที่ 14 การรุก (ATTACK HIT)
14.1 การรุก (ATTACK HIT)14.1.1 การกระทำใด ๆ ที่ส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้ามยกเว้นการเสิร์ฟและการสกัดกั้น ถือว่าเป็นการรุก14.1.2 ขณะทำการรุก อนุญาตให้ใช้ปลายนิ้วเล่นลูกได้ถ้าการถูกลูกเป็นไปอย่างชัดเจน และไม่ได้ใช้ฝ่ามือจับหรือโยนลูกบอลออกไป14.1.2 การรุกจะสมบูรณ์เมื่อลูกได้ข้ามแนวดิ่งของตาข่ายไป แล้วทั้งลูกหรือเมื่อทีมตรงข้ามถูกลูก14.2 ข้อกำจัดของการรุก (RESTRICTIONS OF THE ATTACK HIT)14.2.1 ผู้เล่นแถวหน้าสามารถทำการรุกที่ระดับความสูงเท่าใดก็ได้ ถ้าการถูกลูกบอลอยู่ภายในแดนของผู้เล่นเอง14.2.2 ผู้เล่นแถวหลังสามารถทำการรุกที่ระดับความสูงเท่าใดก็ได้ จากหลังเขตรุก14.2.2.1 ขณะกระโดด เท้าข้างหนึ่ง (ทั้งสองข้าง) ต้องไม่แตะหรือข้ามเส้นรุก14.2.2.2 หลังจากตบลูกแล้ว จึงจะลงยืนในเขตรุกได้14.2.3 ผู้เล่นแถวหลังสามารถทำการรุกในเขตรุกได้ ถ้าถูกลูกบอลในขณะที่ทุกส่วนของลูกบอลไม่อยู่เหนือกว่าขอบบนสุดของตาข่าย14.2.4 ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นทุกคนตบลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา เมื่อลูกบอลอยู่ในเขตรุก และลูกบอลอยู่ในเขตรุก และลูกบอลทั้งลูกอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย14.3 การรุกที่ผิดกติกา (FAULTS OF THE ATTACK HIT)14.3.1 ถ้าลูกบอลในแดนขิงทีมตรงข้าม14.3.2 ตบลูกออกนอกเขตสนาม14.3.3 ผู้เล่นแถวหลังทำการรุกในเขตรุก ขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่ายทั้งลูก14.3.4 ตบลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา ขณะที่ลูกบอลอยู่ในเขตรุกและอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่ายทั้งลูก14.3.5 ตัวรับอิสระทำการรุก โดยขณะถูกลูกบอล ลูกบอลทั้งลูกอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย14.3.6 ผู้เล่นทำการรุกขณะลูกบอลอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย โดยตัวรับอิสระที่อยู่ในแดนหน้าเป็นผู้ใช้นิ้วส่งลูกบอลมาให้ด้วยการเล่นลูกบนมือบน
กติกาข้อที่ 15 การสกัดกั้น (BLOCK)
15.1 การสกัดกั้น (BLOCK)15.1.1 การสกัดกั้นคือ การเล่นของผู้เล่นที่อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่จะมาจากทีมตรงข้าม โดยเอื้อมมือสูงกว่าระดับสูงสุดของตาข่ายผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการสกัดกั้นได้15.1.2 ความพยายามที่จะสกัดกั้น คือลักษณะของการทำการสกัดกั้นแต่ไม่ถูกลูกบอล15.1.3 การสกัดกั้นที่สมบูรณ์ คือการสกัดกั้นที่สมบูรณ์ คือการสกัดกั้นที่ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอล15.1.4 การสกัดกั้นเป็นกลุ่ม คือการสกัดกั้นโดยผู้เล่นสองหรือสามคนที่อยู่ใกล้ ๆ กัน การสกัดกั้นจะสมบูรณ์เมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกลูกบอล15.2 การถูกลูกบอลขณะทำการสกัดกั้น (BLOCK CONTACT)การถูกลูกบอลหลายครั้ง (อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง) โดยผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่าอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าการถูกลูกนั้นเป็นลักษณะทำการสกัดกั้นเพียงครั้งเดียว15.3 การสกัดกั้นในแดนของทีมตรงข้าม (BLOCKING WITHIN THE OPPONENT’S SPACE)ในการสกัดกั้น ผู้เล่นยื่นมือแขนล้ำตาข่ายได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของทีมตรงข้าม การสกัดกั้นจะถูกลูกบอลในแดนของทีมตรงข้ามไม่ได้ จนกว่าทีมตรงข้ามจะถูกลูกเพื่อทำการรุกแล้ว15.4 การสกัดกั้นและการถูกลูกบอลของทีม (BLOCK AND TEAM HITS)15.4.1 การถูกลูกบอลโดยการสกัดกั้น ไม่นับเป็นการถูกลูกบอลของทีม หลังจากถูกลูกบอลโดยการสกัดกั้นแล้ว ทีมนั้นยังถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง เพื่อส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้าม15.4.2 หลังจากทำการสกัดกั้น ผู้ถูกลูกแรกจะเป็นผู้เล่นคนใดคนหนึ่งรวมทั้งผู้เล่นที่ถูกลูกบอลในการสกัดกั้นด้วยก็ได้15.5 การสกัดกั้นลูกเสิร์ฟ (BLOCKING THE SERVICE)ห้ามสกัดกั้นลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา15.6 การสกัดกั้นที่ผิดกติกา (BLOCKING FAULT)15.6.1 ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอลในแดนของทีมตรงข้ามก่อนหรือพร้อมกับการถูกลูกเพื่อทำการรุกของทีมตรงข้าม15.6.2 ผู้เล่นแถวหลังหรือตัวรับอิสระ ทำการสกัดกั้นหรือรวมกลุ่มทำการสกัดกั้นโดยสมบูรณ์15.6.3 สกัดกั้นลูกเสิร์ฟของทีมตรงข้าม15.6.4 ลูกบอลถูกสกัดกั้นแล้วออกนอกเขตสนาม15.6.5 สกัดกั้นลูกบอลด้านนอกเสาอากาศในแดนของทีมตรงข้าม15.6.6 ตัวรัยอิสระพยายามทำการสกัดกั้นด้วยตัวเองหรือรวมกับผู้เล่นอื่น
บทที่ 5การหยุดการแข่งขันและการถ่วงเวลา(INTERRUPTION AND DELATS)กติกาข้อที่ 16 การหยุดการแข่งขันตามกติกา (REGULAR GAME INTERRUPTION)
การหยุดการแข่งขันตามกติกา ได้แก่ การขอเวลานอกและการเปลี่ยนตัว16.1 จำนวนครั้งของการขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (NUMBER OF REGULAR INTERRUPTIONS)แต่ละทีมของเวลานอกได้อย่างมากที่สุด 2 ครั้ง และเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 6 คนต่อเซต16.2 การขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (REQUEST FOR REGULAR INTERRUPTIONS)16.2.1 ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมที่ลงแข่งขันเท่านั้นที่ขอหยุดการแข่งขันได้ การขอหยุดการแข่งขันได้ การขอหยุดการแข่งขันกระทำโดยแสดงสัญญาณมือเมื่อลูกตาย และก่อนสัญญาณนกหวีดทำการเสิร์ฟ16.2.2 การขอเปลี่ยนตัวก่อนเริ่มการแข่งขันของเซตสามารถทำได้ และต้องบันทึกไว้เหมือนกับการขอเปลี่ยนตัวปกติในเซตนั้น16.3 ลำดับการขอหยุดการแข่งขัน (SEQUENCE OF INTERRUPTION)16.3.1 ทีมที่สามารถขอเวลานอกหนึ่งหรือสองครั้งติดต่อกันได้และตามด้วยการขอเปลี่ยนตัวได้อีกด้วย โดยไม่ต้องรอให้มีการแข่งขันแทรกระหว่างการขอหยุดการแข่งขันแต่ละครั้ง16.3.2 ไม่อนุญาตให้ทีมขอเปลี่ยนตัวสองครั้งติดต่อกัน เว้นเสียแต่ว่ามีการแข่งขันเกิดขึ้นหลังจากการขอเปลี่ยนตัวครั้งแรกแล้วจึงขอเปลี่ยนตัวครั้งต่อไปได้ การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยนครั้งละสองคนหรือมากว่าก็ได้16.4 เวลานอกปกติและเวลานอกทางเทคนิค (TIME-OUTS AND TECHNICAL TIME-OUTS)16.4.1 การขอเวลานอกแต่ละครั้งมีเวลา 30 วินาที สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ระหว่างเซตที่ 1 ถึง 4 เมื่อทีมใดนำไปถึงคะแนนที่ 8 และคะแนนที่ 16 ในแต่ละเซต จะให้เวลานอกทางเทคนิคโดยอัตโนมัติครั้งละ 60 วินาที ในเซตตัดสิน (เซตที่ 5) ไม่มีการให้เวลานอกทางเทคนิคแต่ละทีมขอเวลานอกตามปกติได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที16.4.2 ระหว่างการขอเวลานอกทุกแบบ ผู้เล่นในสนามแข่งขันต้องออกไปอยู่เขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง16.5 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น (PLAYER SUBSTITUTION)16.5.1 การเปลี่ยนตัวต้อวกระทำภายในเขตเปลี่ยนตัว16.5.2 การเปลี่ยนตัวจะใช้เวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อบันทึกการขางขันและให้ผู้เล่นเข้าและออกจากสนามเท่านั้น16.5.3 ขณะขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวต้องพร้อมจะเข้าสนามใกล้กับเขตเปลี่ยนตัว ถ้าผู้เล่นไม่พร้อมตามที่กล่าวข้างต้น จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัว และทีมจะถูกทำโทษถ่วงเวลา สำหรับการแข่งขันรับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ป้ายหมายเลขช่วยในการเปลี่ยนตัว16.5.4 ถ้าทีมตั้งใจเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน จะต้องให้สัญญาณบอกจำนวนในขณะขอเปลี่ยนตัว และในกรณีนี้ต้องทำการเปลี่ยนตัวให้เสร็จสิ้นทีละคู่ ตามลำดับ16.6 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดปกติ (IMPROPER REQUESTS)16.6.1 การขอหยุดการแข่งขันต่อไปนี้เป็นการกระทำที่ผิดกติกา16.6.1.1 ระหว่างการเล่นกำลังดำเนินอยู่ หรือขณะกำลังให้สัญญาณทำการเสิร์ฟแล้ว16.6.1.2 โดยผู้ร่วมทีมที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ16.6.1.3 ขอเปลี่ยนตัวครั้งที่ 2 โดยยังไม่ได้ดำเนินการแข่งขันหลังจากเปลี่ยนตัวครั้งแรกไปแล้ว16.6.1.4 หลังจากจำนวนครั้งที่ขอเวลานอกการขอเปลี่ยนตัวได้ใช้ไปหมดแล้ว16.6.2 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกาครั้งแรกที่ไม่มีผลกระทบหรือทำให้การแข่งขันล่าช้า จะได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีการทำโทษใด ๆ 16.6.3 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกาซ้ำอีกในการแข่งขันนัดนั้น ถือว่าเป็นการถ่วง
กติกาข้อที่ 17 การถ่วงเวลาการแข่งขัน (GAME DELAYS)
17.1 ชนิดของการถ่วงเวลาการแข่งขัน (TYPES OF DELATS)การกระทำใด ๆ ของทีมที่เป็นเหตุให้การแข่งขันล่าช้าถือว่าเป็นการถ่วงเวลา ซึ่งประกอบด้วย17.1.1 การเปลี่ยนตัวล่าช้า17.1.2 เมื่อได้รับแจ้งให้เริ่มการแข่งขันแล้ว ยังทำให้การขอหยุดการแข่งขันเนิ่นนานออกไปอีก17.1.3 ขอเปลี่ยนตัวผิดกติกา17.1.4 ขอยุดการแข่งขันผิดปกติซ้ำอีก17.1.5 การถ่วงเวลาการแข่งขันโดยผู้ร่วมมือ17.2 บททำโทษในการถ่วงเวลา (DELAY SANCTIONS)17.2.1 การเตือน (Delay Warning) และการลงเมื่อถ่วงเวลา (Delay penalty) เป็นการทำโทษทีม17.2.1.1 การถูกทำโทษเมื่อถ่วงเวลาจะมีผลต่อเนื่องตลอดการแข่งขันนัดนั้น17.2.1.2 การถูกทำโทษและถูกเตือนเมื่อถ่วงเวลา ต้องบันทึกลงในบันทึกการแข่งขัน17.2.2 การถ่วงเวลาครั้งแรกของทีมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่ง จะถูกทำโทษด้วยการเตือน (Delay Warning)17.2.3 การถ่วงเวลาครั้งที่ 2 และครั้งต่อ ๆ ไป ในการแข่งขันนัดเดียวกัน ไม่ว่าแบบใด โดยผู้เล่นหรือผู้ร่วมทีมคนใด ถือว่าหระทำผิดกติกาและจะถูกทำโทษให้เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกนั้น17.2.4 การทำโทษเมื่อถ่วงเวลา ก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะมีผลในเซตถัดไป
กติกาข้อที่ 18 การหยุดการแข่งขันที่ได้รับการยกเว้น ( EXCEPTIONAL GAME INTERRUPTIONS)
18.1 การบาดเจ็บ (INJURY)18.1.1 เมื่อมีอุบัติเหตุร้ายแรงระหว่างการเล่นลูก ผู้ตัดสินต้องหยุดการแข่งขันทันทีและอนุญาตให้พยาบาลลงไปในสนามได้ แล้วให้เล่นลูกนั้นใหม่18.1.2 ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถเปลี่ยนตัวได้ตามกติกาหรือตามข้อยกเว้น จะอนุญาตให้ปฐมพยาบาลผู้เล่นนั้นได้ 3 นาที แต่จะทำได้เพียงครั้งเดียวในการแข่งขันนัดนั้น สำหรับผู้เล่นคนเดิม ถ้าพยาบาลแล้วยังเล่นต่อไปไม่ได้จะถือว่าทีมนั้นไม่พร้อมทำการแข่งขัน18.2 เหตุขัดข้องนอกเหนือกติกาการแข่งขัน (EXTERNAL INTERFERENCE)ถ้ามีเขตขัดข้อง นอกเหนือกติกาเกิดขึ้นระหว่างแข่งขันจะต้องหยุดการแข่งขันไว้และให้เล่นลูกนั้นใหม่18.3 เหตุขัดข้องเป็นเวลายาวนาน (PROLONGED INTERRUPTIONS)18.3.1 ถ้ามีเหตุไม่คาดฝันทำให้การแข่งขันหยุดลง ผู้ตัดสินที่ 1 ฝ่ายจัดการแข่งขัน และคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันจะร่วมกันตัดสินใจให้การแข่งขันดำเนินต่อไปตามปกติ18.3.2 ถ้าต้องหยุดการแข่งขันครั้งเดียวหรือหลายครั้ง แต่รวมแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง18.3.2.1 ถ้าทำการแข่งขันใหม่ในสนามแข่งขันเดิมเซตที่หยุดการแข่งขันการแข่งขันไปจะถูกนำกลับมาแข่งขันตามปกติโดยใช้คะแนนผู้เล่นและตำแหน่งเดิม ผลการแข่งขันของเซตที่ผ่านไปแล้ว ยังมีผลเหมือนเดิม18.3.2.2 ถ้าทำการแข่งขันใหม่ในสนามอื่นให้ยกเลิกผลการแข่งขันในเซตที่หยุดการแข่งขัน แล้วเริ่มต้นเริ่มใหม่ตามตำแหน่งเดิม ผลการแข่งขันของเซตที่ผ่านไปแล้งยังมีผลเหมือนเดิม18.3.3 ถ้าต้องหยุดการแข่งขันครั้งเดียวหรือหลาย ๆ ครั้งรวมกันแล้วเกิน 4 ชั่วโมง จะต้องทำการแข่งขันนัดนั้นใหม่ทั้งหมด
กติกาข้อที่ 19 การหยุดพักและการเปลี่ยนแดน(INTERVALS AND CHANGE OF COURTS)
19.1 การหยุดพักระหว่างเซต (INTERVALS)การหยุดพักระหว่างเซตจะพักเซตละ 3 นาที ระหว่างการหยุดพักนี้ จะทำการเปลี่ยนแดนและบันทึกตำแหน่งเริ่มแข่งขันลงในใบบันทึกผลการแข่งขัน การหยุดพักระหว่างเซตที่ 2 และเซตที่ 3 อาจขยายเวลาพักเป็น 10 นาทีได้ ตามคำขอของเจ้าภาพต่อคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ย่อหน้าที่ 3 เพิ่มเติมจากกติกาเดิม19.2 การเปลี่ยนแดน (CHANGE OF COURTS)19.2.1 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเซต ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดน ยกเว้นเซตตัดสิน19.2.2 ในเซตตัดสิน เมื่อทีมใดทำได้ 8 คะแนน จะทำการเปลี่ยนแดนทันที และตำแหน่งของผู้เล่นให้เป็นไปตามเดิมถ้าไม่ได้เปลี่ยนแดนเมื่อทีมที่นำอยู่ได้คะแนนที่ 8 จะต้องทำการเปลี่ยนแดนทันทีที่พบข้อผิดพลาด ส่วนคะแนนให้เป็นไปตามเดิม
บทที่ 6 ตัวรับอิสระ(THE LIBERO PLATER)กติกาข้อที่ 20 ตัวรับอิสระ (THE LIBERO PLAYER)
20.1 การแต่งตั้งตัวรับอิสระ (DESIGNATION OF THE LIBERO)20.1.1 แต่ละทีมมีสิทธ์แต่งตั้งตัวรับอิสระที่รับลูกบอลได้ดีเป็นพิเศษ 1 คน จากผู้เล่นที่ส่งรายชื่อ 12 คนสุดท้าย20.1.2 ก่อนเริมการแข่งขันต้องบันทึกตัวรับอิสระในใบบันทึกการแข่งขัน ที่บรรทัดซึ่งจัดไว้เป็นพิเศษสำหับการนี้ และต้องระบุหมายเลขลงในใบส่งตำแหน่งเซตที่ 120.1.3 ตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) หรือหัวหน้าทีมขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) ไม่ได้20.2 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT)ตัวรับอิสระต้องสวมชุดแข่งขัน (หรือเสื้อที่ออกแบบพิเศษสำหรับตัวรับอิสระ) อย่างน้อยที่สุดสีเสื้อต้องแตกต่างจากเพื่อนร่วมทีมแบบชุดแข่งขันของตัวรับอิสระอาจแตกต่างจากคนอื่น แต่แบบของหมายเลขบนชุดแข่งขันต้องเหมือนกับของเพื่อนร่วมทีม20.3 ลักษณะการเล่นที่เกี่ยวข้องกับตัวรับอิสระ (ACTIONS INVOLVING THE LIBCERO)20.3.1 ลักษณะการเล่น20.3.1.1 ตัวรับอิสระจะแทนผู้เล่นแดนหลังคนใดก็ได้20.3.1.2 ตัวรับอิสระถูกกำหนดให้ทำหน้าที่เหมือนกับผู้เล่นแดนหลังคนหนึ่ง ไม่อนุญาตให้ทำการรุกอย่างสมบูรณ์ไม่ว่าจากจุดใดของสนาม (ทั้งภายในสนามแข่งขันและเขตเล่นลูก) ถ้าถูกลูกบอลในขณะที่ทุกส่วนของลูกบอล อยู่สูงกว่าขอบบนสุดของตาข่าย20.3.1.3 ตัวรับอิสระจะทำการเสิร์ฟ สกัดกั้นหรือพยายามทำการสกัดกั้นไม่ได้20.3.1.4 ขณะที่ตัวรับอิสระอยู่ในแดนหน้าแล้ว ใช้นิ้วเล่นลูกมือบนส่งลูกบอลมาให้เพื่อนร่วมทีมจะทำการ รุกลูกบอลที่อยู่สูงกว่าขอบบนของตาข่ายไม่ได้ แต่ถ้าตัวรับอิสระส่งลูกในลักษณะเดียวกันมาจากแดนหลัง เพื่อนร่วมทีมที่สามารถทำการรุกได้อย่างเสรี20.3.2 การเปลี่ยนตัว20.3.2.1 การเปลี่ยนตัวที่เกี่ยวข้องกับตัวรับอิสระไม่นับจำนวนครั้งเหมือนกับการเปลี่ยนตัวตามปกติ กติกาข้อ 8ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการเปลี่ยนตัวแต่ต้องมีการเล่นลูกคั่นหนึ่งครั้งก่อนการเปลี่ยนตัวของตัวรับอิสระครั้งต่อไป ตัวรับอิสระสามารถเปลี่ยนตัวได้กับผู้เล่นที่ตัวรับอิสระลงไปเปลี่ยนตัวด้วยเท่านั้น20.3.2.2 การเปลี่ยนตัวทำได้ในขณะที่ลูกตายและก่อนสัญญาณนกหวีดให้ทำการเสิร์ฟเท่านั้น20.3.2.3 การเปลี่ยนตัวภายหลังสัญญาณนกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ แต่ก่อนที่ผู้เสิร์ฟจะทำการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินไม่ควรปฏิเสธ แต่ต้องตักเตือนด้วยวาจาภายหลังจากการเล่นลูกครั้งนั้นเสร็จสิ้นลงการเปลี่ยนตัวล่าช้าครั้งต่อ ๆ ไปต้องถูกทำโทษในการถ่วงเวลา20.3.2.4 ตัวรับอิสระและผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวแทนกันจะเข้าและออกจากสนามได้ที่เส้นข้างตรงหน้าม้านั่งของทีมตนเองระหว่างเส้นรุกถึงเส้นท้ายสนาม20.3.3 การแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่20.3.3.1 ถ้าตัวรับอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ได้ จากผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในสนามแข่งขัน ขณะขอทำการแต่งตั้งใหม่ และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 ตัวรับอิสระที่ได้บาดเจ็บจะลงเล่นในนัดนั้นอีกไม่ได้ ผู้เล่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวรับอิสระใหม่ต้องทำหน้าที่ตัวรับอิสระตลอดการแข่งขันนัดนั้น20.3.3.2 ถ้ามีการแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ ต้องบันทึกหมายเลขของผู้เล่นนั้นลงในช่องหมายเหตุของใบบันทึกการแข่งขัน และในส่งตำแหน่งของเซตถัดไป
บทที่ 7ความประพฤติของผู้ร่วมการแข่งขัน(PARTICIPANTS’ CONDUCT)กติกาข้อที่ 21 ความประพฤติที่ต้องการ (REQUIREMENTS OF CONDUCT)
21.1 ความประพฤติของผู้มีน้ำใจนักกีฬา (SPORTMEN LIKE CONDUCT)21.1.1 ผู้ร่วมแข่งขันต้องมีความรู้เรื่อง “กติกาการแข่งขัน” และปฏิบัติตามกติกาที่กำหนด21.1.2 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินโดยไม่มีการโต้แย้งด้วยความประพฤติของผู้มีน้ำใจนักกีฬาหากมีข้อสงสัยสามารถขอคำชี้แจ้งจากผู้ตัดสินได้โดยการให้หัวหน้าทีมในสนาม (GAME CAPTAIN) เป็นผู้คำชี้แจ้ง21.1.3 ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องละเว้นการแสดงท่าทางหรือทัศนคติใด ๆ ที่มุ่งหมายให้มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ตัดสินหรือปกปิดการทำผิดกติกาของทีมตนเอง21.2 การเล่นที่ยุติธรรม (FAIR PLAY)21.2.1 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องแสดงความนับถือและความเอื้อเฟื้อทั้งต่อผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ คู่แข่งขัน เพื่อร่วมทีมและผู้ชม เพื่อมุ่งให้การแข่งขันเป็นไปอย่างยุติธรรม21.2.2 ระหว่างการแข่งขัน เพื่อนร่วมทีมสามารถให้คำแนะนำได้
กติกาข้อที่ 22 การผิดมารยาทและการลงโทษ(MISCONDUCT AND ITS SANCTIONS)
22.1 การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง (MINOR MISCONDUCT)การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง ไม่ต้องมีการทำโทษ ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องทำหน้าที่ป้องกันทีมไม่ให้ผิดมารยาทจนใกล้ระดับของการถูกทำโทษ โดยการเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือต่อผู้ที่ทำผิดมารยาทหรือต่อทีมผ่านทางหัวหน้าทีมขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN)การเตือนนี้ไม่ใช่การทำโทษ ไม่นับต่อเนื่องและไม่มีการบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน22.2 การผิดมารยาทที่นำไปสู่การทำโทษ (MISCONDUCT LEADING TO SANCTION)การทำผิดมารยาทของผู้เล่นต่อเจ้าหน้าที่ ทีมตรงข้าม เพื่อนรวมทีมหรือผู้ชม แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ตามความหนักเบาของความรุนแรง22.2.1 ความหยาบคาย ได้แก่ การกระทำใด ๆ ที่ไม่สุภาพไร้คุณธรรมและแสดงการดูหมิ่น22.2.2 การก้าวร้าว ได้แก่ การสบประมาท ใช้คำพูดหรือท่าทางเป็นการดูถูกเหยียดหยาม22.2.3 การใช้ความรุนแรง ได้แก่ การทำร้ายร่างกายหรือตั้งใจใช้ความรุนแรง22.3 ระดับการลงโทษ (SANCTION SCALE)การลงโทษที่นำมาใช้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ตัดสินและความรุนแรงของการกระทำและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขันมีดังนี้22.3.1 การลงโทษ (PENALTY) การกระทำที่หยาบคายครั้งแรกในการแข่งขันโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีม จะถูกลงทาโดยเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น22.3.2 การให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น (EXPULSION)22.3.2.1 ผู้เล่นซึ่งถูกลงโทษให้ออกจาการแข่งขันในเซตนั้นจะลงแข่งขันในเซตนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ต้องนั่งอยู่ในพื้นที่ลงโทษ (PENALTY AREA) โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา ผู้ฝึกสอนที่ถูกให้ออกจากการแข่งขันไม่มีสิทธิ์ทำหน้าที่ในเซตนั้น และต้องอยู่ในพื้นที่ลงโทษ22.3.2.2 การแสดงความก้าวร้าว (OFFENSIVE CONDUCT) ครั้งแรก โดยผู้ร่วมทีมคนใดคนหนึ่ง จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา22.3.2.3 การแสดงมารยาทหยาบคายครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดนั้นโดยผู้เล่นคนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใด ตามมา22.3.3 การให้ออกจาการแข่งขันตลอกทั้งนัดนั้น (DISQUALIFICATION)22.3.3.1 ผู้เล่นที่ถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้นต้องออกจากพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (CONPETITION CONTROL AREA) ในส่วนที่เหลืออยู่ของนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา22.3.3.2 การใช้ความรุนแรงครั้งแรกจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา22.3.3.3 การแสดงความก้าวร้าวครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดเดียวกัน โดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกันจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลใดตามมา22.3.3.4 การแสดงความหยาบคายครั้งที่ 3 โดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันที่เหลืออยู่ตลอดการแข่งขันนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา22.4 การนำการทำโทษไปใช้ (APPLICATION OF MISCONDUCT SANCION)22.4.1 การนำโทษผิดมารยาทเป็นการลงโทษรายบุคคลและมีผลตลอดการแข่งขันนัดนั้น แลละจะถูกบันทึกลงในใบบันทึกรายการแข่งขัน22.4.2 การกระทำผิดมารยาทโดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกันในการแข่งขันนัดเดียวกัน จะถูกลงโทษรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ (ผู้กระทำผิดจะถูกทำโทษสูงขึ้นทุกครั้งที่มีการกระทำผิดมารยาทเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง)(ตารางระดับการลงโทษผิดมารยาท)22.4.3 การให้ออกจากการแข่งขันเซตนั้น (EXPULSION) ออกจาการแข่งขันนัดนั้น (DISQUALIFICATION) ทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีการทำโทษใด ๆ มาก่อน แต่ขึ้นอยู่กับการแสดงความก้าวร้าวหรือการใช้ความรุนแรง22.5 การผิดมารยาทก่อนเริ่มต้นเซตและระหว่างเซต (MINCONDUCT BEFORE AND BETWEEN SET)การผิดมารยาทที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะถูกลงโทษตามกติกาข้อ 22.3 และมีผลในเซตถัดไป22.6 บัตรแสดงการทำโทษ (SANCTION CARDS)เตือน ด้วยปากหรือสัญญาณมือ ไม่ใช้บัตรทำโทษ บัตรเหลืองออกจากการแข่งขันเซตนั้น บัตรแดงออกจาการแข่งขันนัดนั้น บัตรเหลืองแดง
ตอนที่ 2ผู้ตัดสิน ความรับผิดชอบ และสัญญาณ ตามกติกาการแข่งขัน(THE REFEREES, THEIR RESPONSIBILITIES AND OFFICIAL SIGNALS)บทที่ 8 ผู้ตัดสิน (REFEREES)กติกาข้อที่ 23 ฝ่ายทำหน้าที่ในการตัดสินและขั้นตอนการปฏิบัติ (REFEREEING CORP AND PROCEDURES)
23.1 องค์ประกอบ (COMPOSITION)ฝ่ายทำหน้าที่ในการตัดสินแต่ละนัด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ต่อไปนี้- ผู้ตัดสินที่ 1 - ผู้ตัดสินที่ 2 - ผู้บันทึก- ผู้กำกับเส้น 4 คน (หรือ 2 คน)ตำแหน่งในสนามของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแสดงไว้ในภาพที่ 1 สำหรับการแข่งขันในระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการต้องมีผู้ช่วยผู้บันทึกการแข่งขันด้วย23.2 ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ (PROCEDURES)23.2.1 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 เท่านั้นที่สามารถเป่านกหวีดระหว่างการแข่งขันได้23.2.1.1 ผู้ตัดสินที่ 1 ให้สัญญาณการเสิร์ฟเพื่อเริ่มการเล่น23.2.1.2 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีดให้สัญญาณเสร็จสิ้นการเล่นลูก เมื่อแน่ใจว่ามีการทำผิดกติกาเกิดขึ้นและต้องแสดงลักษณะการกระทำผิดนั้น23.2.2 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีดเมื่อลูกตายเพื่อแสดงว่าจะอนุญาตหรือปฏิเสธการขอหยุดเล่นของทีม23.2.3 ทีนทีหลังจากการเป่านกหวีดให้สัญญาณเสร็จสิ้นการเล่นลูก ผู้ตัดสินต้องแสดงสัญญาณมือ23.2.3.1 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดระบุการกระทำผิด ผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดงก. ทีมที่ทำการเสิร์ฟข. ลักษณะการกระทำผิดค. ผู้กระทำผิด (ถ้าจำเป็น)ผู้ตัดสินที่ 2 จะทำซ้ำตามผู้ตัดสินที่ 123.2.3.2 ถ้าผู้ตัดสินที่ 0 เป่านกหวีดแสดงการกระทำผิด ผู้ตัดสินที่ 2 จะแสดงก. ลักษณะการกระทำผิดข. ผู้กระทำผิด (ถ้าจำเป็น)ค. ทีมที่จะทำการเสิร์ฟตามสัญญาณมือของผู้ตัดสินที่ 1ในกรณีนี้ ผู้ตัดสินที่ 1 จะไม่แสดงลักษณะของการกระทำผิดและผู้กระทำผิด แต่จะแสดงเฉพาะทีมที่จะทำการเสิร์ฟเท่านั้น23.2.3.3 ถ้าทั้ง 2 ทีม กระทำผิดกติกาทั้งคู่ (DOUBLE FAULTS) ผู้ตัดสินทั้ง 2 จะแสดงก. ลักษณะของการกระทำผิดข. ผู้กระทำผิด (ถ้าจำเป็น)ค. ทีมที่ทำการเสิร์ฟ ซึ่งชี้นำโดยผู้ตัดสินที่ 1
กติกาข้อที่ 24. ผู้ตัดสินที่ 1 (FRIST REFEREE)
24.1 ตำแหน่ง (Location) ผู้ตัดสินที่ 1 ทำหน้าที่โดยนั่งหรือยืนบนม้าที่ตั้งไว้ปลายสุดด้านหนึ่งของตาข่าย ระดับสายตาต้องสูงกว่าขอบบนสุดของตาข่ายประมาณ 50 เซนติเมตร (รูปที่ 1 ก, 2 ข, 10)24.2 อำนาจหน้าที่ (AUTHORITY)24.2.1 ต้องควบคุมการแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นสิ้นสุดการแข่งขัน มีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่และผู้ร่วมทีมทั้ง 2 ทีม ระหว่างการแข่งขันการตัดสินใจของผู้ตัดสินที่ 1 ถือเป็นสิ้นสุด มีอำนาจกลับคำตัดสินของเจ้าหน้าที่ทุกคน เมื่อเห็นว่าเจ้าหน้าที่นั้นผิดพลาด มีอำนาจเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ ซึ่งเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสมได้24.2.2 ต้องควบคุมการทำงานของผู้กลิ้งบอล ผู้เช็ดพื้น (FLOOR WRERS) และผู้ถูกพื้น (MOPPERS) 24.2.3 มีอำนาจตัดสินใจไม่ว่าเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน รวมถึงเรื่องที่ไม่มีในกติกาด้วย24.2.4 ไม่ยอมให้มีการโต้แย้งใด ๆ ในการตัดสินอย่างไรก็ตาม ถ้าหัวหน้าทีมในสนามขอคำชี้แจง ผู้ตัดสินที่ 1 จะให้คำอธิบายการนำกติกามาใช้หรือตีความกติกา ซึ่งนำมาใช้ในการตัดสินนั้น ถ้าหัวหน้าทีมในสนามไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายของผู้ตัดสินที่ 1 และต้องการสงวนสิทธิยื่นหนังสือประท้วงเหตุการณ์นั้นอย่างเป็นทางการ เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน หัวหน้าทีมในสนามต้องขอสงวนสิทธิทันที และผู้ตัดสินที่ 1 ต้องยินยอมรับการประท้วงนั้น 24.2.5 รับผิดชอบการตัดสินใจก่อนหรือระหว่างการแข่งขันว่า พื้นที่เล่นลูก อุปกรณ์และสภาพใด ๆ พร้อมทำการแข่งขันได้ 24.3 ความรับผิดชอบ (RESPONSIBILITIES)24.3.1 ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 :24.3.1.1 ตรวจสภาพสนามแข่งขัน ลูกบอลและอุปกรณ์อื่น ๆ (บทที่ 1)24.3.1.2 ทำการเสี่ยงร่วมกับหัวหน้าทีมทั้ง 2 24.3.1.3 ควบคุมการอบอุ่นร่างกายของทีม 24.3.2 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 เท่านั้นที่มีอำนาจ24.3.2.1 ตักเตือนทีม 24.3.2.2 ทำโทษการผิดมารยาทและการถ่วง24.3.2.3 ตัดสินใจเรื่องก. การผิดกติกาของผู้เสิร์ฟ ตำแหน่งของทีที่จะทำการเสิร์ฟ รวมทั้งการกำบังด้วย ข. การผิดกติกาในการเล่นลูก ค. การผิดกติกาเหนือตาข่ายและส่วนที่สูงขึ้นไปของตาข่าย ง. การตบลูกบอลของผู้เล่นแดนหลังหรือตัวรับอิสระ จ. การตบลูกที่ตัวรับอิสระส่งมาให้ด้วยมือบน (SET) ในขณะที่อยู่ในแดนหน้า ฉ.ลูกบอลที่ข้ามแดนใต้ตาข่าย (กติกาข้อ 9.4..5)24.3.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ต้องตรวจสอบและลงนามในโดยบันทึกการแข่งขัน
กติกาข้อที่ 25. ผู้ตัดสินที่ 2 (SECOND REFEREE)
25.1 ตำแหน่ง (LOCATION)ผู้ตัดสินที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยยินใกล้เสานอกเขตสนามด้านตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 แต่หันหน้าเข้าหากัน25.2 อำนาจ (AUTHORITY)25.2.1 เป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 แต่มีขอบเขตในการตัดสินเป็นของตนเองด้วย ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ผู้ตัดสินที่ 2 จะทำหน้าที่แทน25.2.2 ให้สัญญาณมือแสดงการผิดกติกาที่นอกเหนืออำนาจการตัดสินที่ 2 โดยไม่เป่านกหวีด แต่ต้องไม่เน้นเตือนการกระทำผิดนั้นต่อผู้ตัดสินที่ 1 25.2.3 ควบคุมการทำงานของผู้บันทึกการแข่งขัน 25.2.4 ควบคุมผู้ร่วมทีมที่นั่งบนม้านั่ง และรายงานการผลิตมารยาทของผู้ร่วมทีมเหล่านี้ต่อผู้ตัดสินที่ 1 25.2.5 ควบคุมผู้เล่นในเขตอบอุ่นร่างกาย 25.2.6 อนุญาตให้หยุดการแข่งขัน ควบคุมเวลาและปฏิเสธการขอหยุดการ แข่งขันที่ไม่เหมาะสม 25.2.7 ควบคุมจำนวนครั้งที่แต่ละทีมขอเวลานอกและขอเปลี่ยนตัวและต้องรายงานการขอเวลานอกครั้งที่ 2 และขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ครั้งที่ 5 และ 6 ให้ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ฝึกสอนที่เกี่ยวข้องทราบ 25.2.8 กรณีที่ผู้เล่นบาดเจ็บ มีอำนาจให้ทำการเปลี่ยนตัวตามข้อยกเว้น หรืออนุญาตให้ทำการรักษาพยาบาล 3 นาทีก็ได้ 25.2.9 ตรวจสภาพพื้นสนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตรุกระหว่างการแข่งขันต้องตรวจลูกบอลว่า คงสภาพถูกต้องสมบูรณ์ตามระเบียบการแข่งขันด้วย 25.2.10 ควบคุมผู้ร่วมทีมในพื้นที่ลงโทษ และรายงานการผิดมารยาทให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบ 25.3 ความรับผิดชอบ (RESPONSIBILITY)25.3.1 ตรวจตำแหน่งที่ถูกต้องของผู้เล่นในสนามให้เป็นไปตามใบส่งตำแหน่งก่อนเริ่มต้นเล่นแต่ละเซต และเมื่อจำเป็นจะตรวจสอบตำแหน่งของผู้เล่นในสนามขณะนั้น ตามใบส่งตำแหน่ง25.3.2 ต้องตัดสินใจ เป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือระหว่างการแข่งขันดังนี้25.3.2.1 การล้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามและที่ว่างให้ตาข่าย 25.3.2.2 ฝ่ายรับลูกเสิร์ฟผิดตำแหน่ง 25.3.2.3 ผู้เล่นถูกตาข่ายและเสาอากาศทางด้านข้างของสนามที่ผู้ตัดสินที่ 2 ยืนอยู่ 25.3.2.4 การสกัดกั้นที่ผิดกติกาของผู้เล่นแดนหลัง หรือการพยายามทำการสกัดกั้นโดยตัวรับอิสระ 25.3.2.5 ลูกบอลถูกสิ่งของนอกสนามหรือถูกพื้นสนามในขณะที่ผู้ตัดสินที่ 1 อยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ 25.3.3 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันต้องลงชื่อในใบบันทึกการ
กติกาข้อที่ 26 ผู้บันทึก (SCORER)
26.1 ตำแหน่ง (LOCATION)ผู้บันทึกจะนั่งทำหน้าที่ ณ โต๊ะบันทึกการแข่งขันที่อยู่คนละดานของสนามกับผู้ตัดสินที่ 1 แต่หันหน้าเข้าหากัน26.2 ความรับผิดชอบ (RESPPONSIBILITIES)บันทึกผลการแข่งขันตามกติกาการแข่งขันและร่วมมือกับผู้ตัดสินที่ 2 ต้องกดกริ่งหรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณแจ้งผู้ตัดสินเมื่อมีเรื่องต้องรับผิดชอบเกิดขึ้น26.2.1 ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละนัดและแต่ละเซต ผู้บันทึกต้อง26.2.1.1 บันทึกข้อมูลการแข่งขันและของทีมตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน และต้องให้หัวหน้าทีมและผู้ฝึกสอนทั้งสองทีมลงนาม26.2.1.2 บันทึกตำแหน่งเริ่มต้นเล่นของแต่ละทีมจากใบส่งตำแหน่ง ถ้าไม่ได้รับใบส่งตำแหน่ง ถ้าไม่ได้รับใบส่งตำแหน่งตามเวลาที่ควรได้รับจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบทันที26.2.1.3 บันทึกหมายเลขและชื่อของตัวรับอิสระ26.2.2 ระหว่างการแข่งขัน ผู้บันทึกต้อง22.2.2.1 บันทึกคะแนนที่ได้และต้องแน่ใจว่าป้ายคะแนนแสดงคะแนนที่ถูกต้อง26.2.2.2 ควบคุมลำดับการส่งตำแหน่ง หากมีการผิดตำแหน่งเมื่อใดต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีหลังจากทำการเสิร์ฟแล้ว26.2.2.3 บันทึกการขอเวลานอกและการเปลี่ยนตัวผู้เล่น ควบคุมจำนวนครั้งและแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบ26.2.2.4 ถ้าการขอหยุดการแข่งขันผิดกติกาต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ26.2.2.5 แจ้งการเสร็จสิ้นของแต่ละเซต การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของเวลานอกทางเทคนิคแต่ละครั้ง และคะแนนที่ 8 ในเซตตัดสินให้ผู้ตัดสินทราบ26.2.2.6 บันทึกการลงโทษทุกอย่างที่เกิดขึ้น26.2.2.7 บันทึกเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ผู้ตัดสินที่ 2 แจ้ง เช่น การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น เวลาที่เริ่มการแข่งขันใหม่ การยึดเวลาหยุดการแข่งขัน การมีเหตุขัดขวางจากภายนอก เป็นต้น26.2.3 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละนัด ผู้บันทึกต้อง26.2.3.1 บันทึกผลสิ้นสุดของการแข่งขัน26.2.3.2 หากมรการประท้วงผู้ตัดสินที่ 1 อนุญาตไว้แล้ว ต้องเขียนหรืออนุญาตให้หัวหน้าทีมแจ้งเหตุของการประท้วงลงในใบบันทึก26.2.3.3 หลังจากลงนามในใบบันทึกแล้ว ต้องให้หัวหน้าทีมและผู้ตัดสินลงนามตามลำดับ
กติกาข้อที่ 27 ผู้กำกับเส้น (LINE JUDGES)
27.1 ตำแหน่ง (LOCATION)ถ้าใช้ผู้กำกับเส้น 2 คน จะยืนเป็นแนวเฉียงใกล้กับทางขวามือของผู้ตัดสิน แต่ละคนห่างจากมุมสนาม 1 - 2 เมตร ผู้กำกับเส้นทั้งสองจะควบคุมทั้งเส้นหลังและเส้นข้างทางด้านของตนเอง สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการต้องมีผู้กำกับเส้น 4 คน ผู้กำกับเส้นจะยืนในเขตรอบสนามห่างจากมุมสนามแต่ละมุม 1 - 3 เมตร ตามแนวทางสมมติที่ต่อออกไปของเส้นที่แต่ละคนควบคุมอยู่27.2 ความรับผิดชอบ (RESPONAIBILITIES)27.2.1 ผู้กำกับเส้นปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ธงขนาด 40 x 40 เซนติเมตร ดังที่แสดงในรูปการให้สัญญาณ27.2.1.1 ให้สัญญาณลูก "ดี" ลูก "ออก" เมื่อลูกบอลตกลงบนพื้นสใกล้เส้นของแต่ละคน27.2.1.2 ให้สัญญาณว่าลูกถูกผู้เล่นของทีมที่เป็นฝ่ายรับแล้วลูกออกสนาม27.2.1.3 ให้สัญญาณเมื่อลูกบอลถูกเสาอากาศหรือลูกบอลทีเสิร์ฟข้ามตาข่ายนอกเขตที่กำหนดให้ข้ามตาข่าย เป็นต้น27.2.1.4 ให้สัญญาณถ้าผู้เล่นเหยียบนอกเขตสนามของตนเองขณะทำการเสิร์ฟ (ยกเว้นผู้เสิร์ฟเท่านั้น)27.2.1.5 ให้สัญญาณเมื่อเท้าของผู้เสิร์ฟผิดกติกา27.2.1.6 ให้สัญญาณเมื่อผู้เล่นถูกเสาอากาศขณะอยู่ในลักษณะเล่นลูกบอลหรือกีดขวางการเล่นลูกด้านสนามแข่งขันที่รับผิดชอบ27.2.1.7 ให้สัญญาณลูกข้ามตาข่ายนอกเขตข้ามตาข่ายไปยังแดนของทีมตรงข้าม หรือถูกเสาอากาศทางด้านสนามแข่งขันที่รับผิดชอบ27.2.2 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ร้องขอ ผู้กำกับเส้นต้องแสดงสัญญาณซ้ำ
กติกาข้อที่ 28 สัญญาณตามกติกาการแข่งขัน (OFFICIAL SIGNALS)
28.1 สัญญาณมือของผู้ตัดสิน (REFEREES' HAND SIGNALS)ผู้ตัดสินต้องแสดงสัญญาณมือแสดงเหตุผลของการเป่านกหวีด (ที่เป่าเพื่อแสดงการกระทำผิด หรือเพื่อหยุดการแข่งขัน) ต้องแสดงสัญญาณค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง และถ้าแสดงสัญญาณด้วยมือข้างเดียวต้องใช้มือข้างเดียวกับทีมที่ทำผิดกติกาหรือขอหยุดการแข่งขัน28.2 สัญญาณธงของผู้กำกับเส้น (LINE JUDGES' FLAG SIGNALS)ผู้กำกับเส้นต้องแสดงสัญญาณธงตามลักษณะของการทำผิดกติกาที่เกิดขึ้นและต้องค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง สรุปกติกาโดยทั่วไป๑. ถ้าลูกบอลทำให้ตาข่ายฉีกขาดหรือทำให้ตาข่ายหลุด ให้ยกเลิกการเล่นลูกนั้นและให้เริ่มเล่นใหม่๒. ผู้ที่รับลูกเสิร์ฟจากฝ่ายตรงข้าม จะทำการสกัดกั้นหรือตบลูกบอลไม่ได้๓. แต่ละทีมจะขอเวลานอกได้ ๒ ครั้งต่อเซต๔. เมื่อลูกบอลพุ่งไปถูกตาข่ายและเป็นเหตุให้ตาข่ายไปถูกฝ่ายตรงข้ามถือว่าไม่ผิดกติกา๕. ผู้เล่นถูกตาข่าย ในกรณีที่มีการเล่นลูกในแถวหน้า ถือว่าผิดกติกา๖. ผู้เล่นถูกลูกบอลในแดนของฝ่ายตรงข้าม ก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของฝ่ายตรงข้ามถือว่าผิดกติกา๗. การเล่นลูกบอลคนเดียวติดต่อกันสองครั้ง เช่น ตั้งลูกเองแล้วตบลูกบอล ถือว่ผิดกติกา๘. หากฝ่ายรับบล็อกลูกบอลกลับไปถูกศีรษะของผู้ที่ตบลูกบอลมา แล้วลูกบอลเคลื่อนไปถูกเสาอากาศ ลักษณะนี้ถือว่าฝ่ายตบทำลูกบอลออกเพราะลูกบอลถูกเสาอากาศแล้ว๙. ลูกบอลที่ข้ามแนวตาข่ายไปยังเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามแล้ว โดยบางส่วนหรือทุกส่วนของลูกบอลอยู่ภายนอกพื้นที่สำหรับข้ามตาข่าย อาจนำกลับมาเล่นได้อีก ถ้าผู้เล่นไม่ถูกด้านเดียวกันสนาม ฝ่ายตรงข้ามจะกีดขวางการเล่นลูกนี้ไม่ได้๑๐. ในเซตตัดสิน ทีมใดทำคะแนนได้ ๘ คะแนน ให้ทำการเปลี่ยนแดนทันที และตำแหน่งของผู้เล่นให้เป็นไปเหมือนเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น